การทดสอบสมรรถนะของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Load Test)
การทดสอบสมรรถนะของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า (Load Test)
การทดสอบเครื่องกําเนิดไฟฟ้าจะต้องทําการทดสอบภายหลังการติดตั้งแล้วเสร็จสมบูรณ์ ณ สถานที่ติดตั้ง เพื่อให้ทราบสมรรถนะ (Performance) ที่แท้จริงของเครื่องกําเนิดไฟฟ้ โดยแบ่งออกเป็น
1. การทดสอบสมรรถนะของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เพื่อส่งมอบงาน (On Site Acceptance Test) เหมาะสำหรับอาคารทั่วไป อาคารสนามบิน โรงพยาบาล ดาต้าเซ็นเตอร์ ฯลฯ ซึ่งการทดสอบสามารถทําได้ที่สถานที่ติดตั้งหรือที่อื่น ตามที่ตกลงกันระหว่างผู้ใช้งานกับผู้ผลิต
- ทดสอบทั้งด้านสมรรถนะในการจ่ายไฟฟ้าและฟังก์ชั่นการทํางาน
- โหลดต่างๆ ในอาคารอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นโหลดทั้งหมดในการทดสอบ
- กรณีที่โหลดอาคารมีไม่เพียงพอตามกําหนด ให้จัดหาโหลดเทียม (Load Bank) มาเสริมจนครบ
- กรณีที่สถานที่ติดตั้งอยู่ในตําแหน่งที่มีบรรยากาศแวดล้อมแตกต่างจากมาตรฐานหรือผู้ผลิตกําหนดและทําให้พิกัดกําลังลดลง ให้ทดสอบที่พิกัดกําลังที่ลดลงแล้ว
2. การทดสอบสมรรถนะของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ขณะใช้งาน (Operational Test) สามารถทดสอบได้หลายแบบตามความเหมาะสม
- การทดสอบประจําสัปดาห์ เครื่องกําเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ จะต้องมีการตรวจสอบทุกสัปดาห์ ต้องทําการกระตุ้น (Exercise) โดยไม่จ่ายโหลดเป็นเวลา 10 นาที และจะต้องมีการจดบันทึกการตรวจเช็คค่าต่างๆ และการกระตุ้น (Exercise) ด้วย
- การทดสอบประจําเดือน ต้องทําการทดสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที โดยการทดสอบจะต้องเลือกวิธีทดสอบข้อหนึ่งข้อใด ดังนี้
- การทดสอบด้วยการจ่ายโหลดอย่างน้อยจะต้องให้อุณหภูมิของก๊าซไอเสียมีอุณหภูมิสูงถึงค่าต่ำสุดตามคําแนะนําของบริษัทผู้ผลิต หรือ
- จะต้องจ่ายโหลดอย่างน้อย 30% ของพิกัดกําลัง (Name plate Kw Rating)
- การทดสอบประจําปี กรณีไม่สามารถทําการทดสอบสมรรถนะประจําเดือนได้ให้ทําการทดสอบสมรรถนะเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้จ่ายโหลดเท่าที่จะจ่ายได้และให้ทําการทดสอบสมรรถนะอีกปีละ 1 ครั้งโดยต้องจ่ายโหลดดังนี้
- จ่ายโหลดไม่น้อยกว่า 50 % ของพิกัดกําลังกิโลวัตต์ (Name plate Kw Rating) เป็นเวลา 30 นาที
- จ่ายโหลด 75% ของพิกัดกําลังกิโลวัตต์ (Name plate Kw Rating) เป็นเวลา 60 นาที รวมระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบทั้งสิ้น 1.5 ชั่วโมงต่อเนื่อง (1.5 Continuous hours)
ทั้งนี้การทดสอบประจําสัปดาห์ ประจําเดือน และประจําปี ให้บันทึกค่าแรงดันน้ำมันหล่อลื่น อุณหภูมิน้ำระบายความร้อน แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กําลังไฟฟ้า ความถี่ครั้งแรก และทุกๆ 15 นาทีส่วนอัตราการประจุแบตเตอรี่หรือแรงดันแบตเตอรี่ ให้บันทึกระยะแรกทุกๆ 5 นาทีของช่วงเวลา 15 นาที และต่อไปทุกๆ 15 นาที
การทดสอบสมรรถนะของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าขณะใช้งาน (Operational Test) ในการจ่ายโหลด 100 % ของพิกัดกําลังกิโลวัตต์ (Name plate Kw) โหลดต่างๆ ของอาคารอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโหลดหรือเป็นโหลดทั้งหมดที่ใช้ทดสอบก็ได้ ในกรณีที่โหลดต่างๆ ของอาคารไม่เพียงพอ จะต้องหาโหลดเทียม (Load bank) มาเพิ่มเพื่อให้โหลดครบ 100 % ของพิกัดกําลังกิโลวัตต์ (Name plate Kw) ของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า กรณีที่สถานที่ติดตั้งอยู่ในตําแหน่งที่มีบรรยากาศแวดล้อมแตกต่างจากมาตรฐานกําหนด และทําให้พิกัดกําลังลดลง ให้ทดสอบที่พิกัดกําลังที่ลดลงแล้ว
Cr. http://www.genthai.or.th/attachments/view/?attach_id=190200