การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

การระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

การระบายอากาศในงานอุตสาหกรรม เป็นระบบกลไกที่นำอากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้ามาในสถานที่ทำงาน (โรงงานหรือโรงงานผลิต) และกำจัดอากาศภายในอาคารที่มีปนเปื้อนฝุ่นละอองหรือสสารไม่พึงประสงค์ต่างๆ ระบบระบายอากาศ (Ventilation System) ในโรงงานถูกออกแบบเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัยสำหรับพนักงาน และเพื่อกำจัดหรือควบคุมสารปนเปื้อนที่ปล่อยออกมาในสภาพแวดล้อม การระบายอากาศสามารถทำได้โดยการเปิดหน้าต่าง (ธรรมชาติ) หรือใช้พัดลม/โบลเวอร์ (วิธีการทางกล) สารมลพิษทั่วไปที่ถูกกำจัดออกโดยใช้ระบบระบายอากาศในอุตสาหกรรม ได้แก่ ไอระเหยที่ติดไฟได้, ควันจากการเชื่อม, ฝุ่น, เชื้อรา, เส้นใยแร่ใยหิน, ละอองน้ำมัน, สารเคมีที่เป็นพิษ, ความชื้น และอื่นๆ

ระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
การติดตั้งระบบระบายอากาศทางอุตสาหกรรมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ในการจัดการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสำหรับพนักงาน สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร ระบบระบายอากาศที่ออกแบบมาอย่างดีจะนำอากาศเข้าสู่พื้นที่ทำงานด้วยความเร็วที่กำหนด ผ่านกระบวนการคำนวนและวางแผน สร้างแรงดันอากาศที่จำเป็น (ความดันบวก) และยังช่วยประหยัดต้นทุนสำหรับการทำความร้อนและความเย็นในพื้นที่ปฏิบัติงานอีกด้วย

วัตถุประสงค์ของระบบระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม
– ให้อากาศที่สดชื่นอย่างต่อเนื่อง
– รักษาอุณหภูมิและความชื้น
– ลดอันตรายจากไฟไหม้และการระเบิด
– ขจัดหรือเจือจางสารปนเปื้อนในอากาศ

ระบบระบายอากาศอุตสาหกรรมประกอบด้วยสองระบบย่อย ดังนี้
1. ระบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ หมายรวมถึงช่องอากาศเข้า อุปกรณ์กรองอากาศ อุปกรณ์ทำความร้อนและ/หรือทำความเย็น พัดลม ท่อระบายอากาศ และการวัดอัตราการจ่ายอากาศ
2. ระบบระบายอากาศเสีย ประกอบด้วย ช่องรับอากาศเข้า ตัวจับอากาศเพื่อนำอากาศที่ปนเปื้อนออกจากพื้นที่หนึ่งระบายออกไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง อุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศ ปล่องระบายและพัดลม

Cr. https://innovationinex.com/ventilation-industry/